กำเนิด ซีเควนซ์ขวัญใจมหาชน MC-50
ก่อนหน้านี้ ซีเควนซ์ เป็นเครื่องที่ใช้งานยุ่งยากและอาจจะเกินเอื้อมสำหรับนักดนตรีกลุ่มใหญ่ MC-50 ซึ่งพัฒนามาจาก MC-500mk2 มาตอบโจทย์ตรงนี้
ด้วยจำนวนแทรค 8 แทรค + 1 กลอง ตามโมดูลฮิต MT-32 ในยุคนั้น และใช้งานง่ายกว่ารุ่นเดิม เปิดเครื่องปุ้บใช้ได้เลย ไม่ต้องเสียบแผ่น system บูทเครื่องเหมือนแต่ก่อน
MC-50 กลายเป็นเหมือนหัวใจของมือคีย์บอร์ดไทยเกือบทุกคนในยุค 90 ใครเคยมีความหลังกับเจ้าตัวนี้ หรือ MC-50mk2 ว่างๆมาเล่าสู่กันฟังครับ
ในปีนี้ Roland ได้ ออกซินธ์รุ่นใหญ่ ในชื่อว่า D-70 D-70 จะว่าไปก็คือลูกผสมของ D-50 + U-20 บวกไปมาเลยได้ 70 อันนี้ไม่ได้ล้อเล่น
จริงๆ D-70 เกือบจะออกมาในชื่อ U-50 เพราะในบอร์ดของ D-70 บางบอร์ดยังสกรีน U-50 แต่คงมีการเปลี่ยนใจในภายหลัง D-70
เอาเทคโนโลยีเสียงแซมป์ของ U-20 มาผสมกับฟิลเตอร์ซินธ์ของ D-50 เสียงที่ได้จึงต่างจากรุ่นพี่ทั้ง 2 รุ่น มาพร้อมกับจำนวนคีย์ 76 คีย์
ซึ่งสมัยนั้น แทบทุกยี่ห้อ จะยกให้ 76 คีย์เป็นรุ่นท๊อป และ Roland ก็ได้ต่อยอดเทคโนโลยีซาวด์ที่ดีที่สุดตอนนั้นจาก D-70 มาผสมกับเทคโนโลยีซีเควนซ์ ที่สูงกว่า MC ทุกรุ่น
ออกเป็น Music Production System ตัวแรกของโลก MV-30 Studio M ที่มีทั้งซีเควนซ์ 16 แทรค Midi File ซาวด์โมดูล และเฟดเดอร์พร้อมเอฟเฟกต์ที่มิกซ์เสียงได้ในตัว
มีตัวนี้แค่ตัวเดียวทำงานจบได้เลย ในปีนี้ Roland ซึ่งได้แบรนด์ Rhodes มา 3 ปี ก็ได้ออกคีย์บอร์ด 2 ตัวแรกที่ใช้ชื่อ Rhodes 660 และ 760 ซึ่งก็คือคีย์บอร์ดที่ใช้วงจรของ U-20 ในอีกลุค
ที่จอเล็กลงไปอีก 2 รุ่นนี้ไม่ได้รับความนิยม เพราะ U-20 ดูดีกว่า นอกจากนี้ ปีนี้ Roland ยังออกของฮิตอีกหลายอย่างเช่น เท้าเบสขวัญใจสายออร์แกน PK-5,
แซมป์รุ่นใหญ่สุด S-770, แป้นกลอง Octapad ที่มีซาวด์รุ่นแรก SPD-8, เอฟเฟคเอคโค่ขวัญใจคาราโอเกะ RE-1000 บ๊อกซ์กลองตัวเล็ก DR-550 เป็นต้น