1982 กำเนิด JUNO และ 101
1982 เป็นปีที่ Roland ออกเครื่องดนตรีมาน้อยเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เพราะกำลังซุ่มทำวิจัยเรื่องสำคัญที่จะเปิดตัวในปี 1983 แต่ปีนี้ก็ยังมีตำนานเพียบ
อย่างแรกเลย ซินธ์ซีรีย์ใหม่ JUNO ได้ถือกำเนิดขึ้น ต่อจาก ซีรีย์ SH และ JUPITER ขณะที่ SH คือ Mono ซินธ์ และ JUPITER คือ Poly
JUNO คือซินธ์ที่แสดงถึงความก้าวหน้าของผู้ผลิตซินธ์อย่าง Roland ที่ได้นำ Microprocessor มาใช้กับวงจรกำเนิดเสียงของ Analog Synth เป็นครั้งแรก
ก่อนหน้านั้น ผู้ผลิตซินธ์ทุกยี่ห้อ ใช้ VCO เป็นแหล่งกำเนิดเสียง แต่ V หรือ Voltage กระแสไฟ มีข้อเสียคือเสียงไม่ค่อยเสถียรเพี้ยนง่าย Roland
ได้คิดค้นวิธีการแก้จุดเสียนี้ด้วยการใช้ Microprocessor มาคุมการจ่ายสัญญาณเสียง และเรียกมันว่า DCO หรือ Digital Controll Oscillator ถึงจะใช้ Digital
คุมค่ากำเนิดเสียง แต่ซาวด์ที่ได้ก็ยังเป็น Analog เหมือน VCO ในเครื่องรุ่นอื่นๆ JUNO ตัวแรกคือ JUNO-6 ซึ่งไม่สามารถเซฟเสียงได้
แต่ในไม่กี่เดือนต่อมา Roland ก็ออกรุ่น JUNO-60 ซึ่งเหมือน JUNO-6 แต่มี โปรแกรมเสียงให้มาด้วย 56 Preset
จุดเด่นอีกจุดของ JUNO คือวงจร CHORUS ซึ่งสร้างมาจากวงจร BBD CHORUS แต่มีลักษณะพิเศษคือหางเสียงสั้นกว่า CHORUS ทั่วไป
และ มีพรีเซทให้ 2 พรีเซทปรับแต่งเองไม่ได้ แม้จะดูเหมือนไม่มีอะไร แต่ เพราะ CHORUS JUNO นี่แหล่ะ ที่สร้างเอกลักษณ์ซาวด์หนาๆ
จน JUNO เป็น 1 ในตำนานซินธ์ของโลก อีกตำนานซินธ์โลก ที่ออกมาในปีนี้ก็คือ SH-101 ซินธ์ Mono ตัวเล็ก ในสไตล์ซีรีย์ SH ถูกสร้างมาให้ต่างจาก SH ตัวอื่น
ไม่ว่าดีไซน์แบบ Keytar ที่สวยเบาและมีหลายสี ใส่ถ่านได้ bender แยกชิ้น แถมยังเป็นซินธ์ตัวแรก ที่ Roland ได้ทดลองใส่ชิป VCO ตัวเดียวกับซินธ์ค่ายเมกา
นั่นทำให้ SH-101 มีซาวด์ที่ต่างจาก SH ตัวอื่น และโด่งดังจนถึงทุกวันนี้ ในปีนี้เอง BOSS ก็ได้ออกก้อนดังๆออกมาหลายก้อน เช่น CE-3 Chorus OC-2 Octave และ VB-2 Vibrato
และอีกตัวที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้เลย ก็คือ สวิทช์เชอร์เอฟเฟคตัวแรกของโลก SCC-700 เจ้าบอร์ดขนาดมหึมา ที่ประกอบด้วย คอนโทรลเลอร์แบบดิจิตัล
ที่สามารถใช้ควบคุมเอฟเฟคก้อนได้ 7 ก้อน เซฟได้ 32 เมมโมรี่ ทั้งปิดเปิดก้อน และสลับตำแหน่งก้อน นี่คือสุดยอดเทคโนโลยี ที่ล้ำกว่าใครในยุค
และเป็นจุดเริ่มต้นของ มัลติเอฟเฟค BOSS ในเวลาต่อมา
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซ์ต์หลักของ Roland
Previous
Next