Theera Music

2003 เป็นปีแห่งซินธิไซเซอร์ของ Roland

หลังจากทุ่มทรัพยากรไปทำระบบอัดเสียงอยู่หลายปี ปีนี้ Roland เป็นปีที่จัดเต็มด้าน Synthesizer อีกครั้ง โดยออกรุ่น flagship ตัวท๊อปมาพร้อมกันถึง 2 รุ่น 
แถมยังมีรุ่นย่อมเยาออกมาอีกด้วย Synth ตัวท๊อป ตัวแรก ที่เป็นตำนานจนถึงทุกวันนี้ก็คือ V-Synth
V-Synth รวบรวมเทคโนโลยีด้านซาวด์ ทุกอย่างที่ Roland มีในเวลานั้น ไม่ว่าจะเป็นระบบ Virtual Analog, ระบบซินธ์แบบ PCM, Sampling 
ที่มีระบบจูนเสียง Variphrase ระบบการปรับแต่งซาวด์ External ด้วยระบบจำลองซาวด์ COSM รวมถึงเทคโนโลยี TimeTrip ที่ XY Pad 
ซึ่งทำให้การผสมซาวด์มีสีสันมาก ทำหใ V-Synth นี่คือสุดยอดซินธ์ในยุค 2000 ของ Roland เลย ตัวท๊อปอีกตัวก็คือ FANTOM-S ซินธ์ตัวนี้คือการนำเอา FANTOM รุ่นแรกมาเสริมด้วยระบบ Sampling 
และเพิ่มซาวด์ใหม่ๆอย่างเช่นเปียโน FANTOM-S ค่อนข้างแพง ได้รับความนิยมประมาณนึงแต่ก็ถูกทดแทนด้วยรุ่นใหม่ ใน 2 ปีต่อมา เจ้าตัวที่ได้รับความนิยมมากในไทย คือรุ่น RS-50 61 คีย์ และ RS-70 76 คีย์
ทั้ง 2 รุ่นคือการนำซินธ์ RS-5 ที่ออกมาปีนึงก่อนหน้า มาดีไซน์ใหม่ จุดต่างกันที่จะชัดหน่อยก็คือฟังก์ชั่น D-Beam ที่ Roland ผลักดันให้มีในซินธ์ทุกรุ่นในสมัยนั้น ในส่วนของซินธ์ อีกตัวนึงที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือ 
แร๊คซินธ์สีแดง VariOS ซึ่งสร้างด้วยคอนเซปต์ใหม่ เป็นโมดูลที่เปลี่ยนไปตามซอฟท์แวร์ที่อยู่ใน PCMCIA การ์ดที่เสียบที่เครื่อง ไม่ว่าจะเป็น Jupiter-8 หรือ D-50 หรือ MC-303 ฯลฯ คอนเซปต์แจ๋วเลย 
แต่เนื่องจากการพัฒนาการ์ดโมดูล PCMCIA ไม่ต่อเนื่อง ระบบแจ๋วๆนี้จึงมีข้อจำกัด เลียนซาวด์ได้ไม่กี่รุ่น ในส่วนของกลองไฟฟ้า ปีนี้แป้นกลองที่สามารถโหลดเสียงแซมป์เข้าไปในเครื่องได้ SPD-S 
ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก ทำให้มือกลองสามารถเล่นซาวด์แซมป์ ได้เหมือนมือคีย์บอร์ด และทำให้ซาวด์กลองมีความหลากหลายมากขึ้น ส่วน BOSS นั้น ก็ได้ทำตามคำเรียกร้องของ มือกีตาร์หลายคนที่อยากได้มัลติเอฟเฟค
ที่ปรับใช้งานง่ายๆ ME-50 มัลติที่ปรับเหมือนก้อน กลายเป็นที่ชื่นชอบของมือกีตาร์หลายๆคนในยุค 2000 และคอนเซปต์นี้จึงทำให้ ME ในรูปแบบปรับเหมือนก้อน ถูกพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ 
เป็น ME-70 และจนเป็น ME-80 ในปัจจุบัน